ทุกคนทั่วโลกต่างจับตามองการแจกจ่ายและรับวัคซีน โควิด 19 ทั่วโลก ในแต่ละประเทศ โดยคาดหวังว่าเมื่อไรจะถึงคิวตัวเองในการรับวัคซีนบ้าง ข้อมูลคุณสมบัติของวัคซีนแต่ละยี่ห้อกลายเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจมากทันที
รายชื่อวัคซีน โควิด 19 ที่กำลังทดลองใช้ในปัจจุบัน
วัคซีนที่ประเทศไทยนำเข้ามา มี 2 ชนิด คือ
- วัคซีน AstraZeneca จำนวน 26 ล้านโดส เป็นวัคซีนที่ผลิตจากไวรัสอะดิโนที่ก่อโรคในลิงชิมแปนซีเป็นตัวพา (Adenoviral Vector) ทำให้เกิดผลข้างเคียงมากกว่า แต่ไม่รุนแรง เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ผู้สูงอายุจะพบน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่ และสามารถฉีดได้ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป
- วัคซีน Sinovac จำนวน 2 ล้านโดส ซึ่งผลิตจากไวรัสที่ไม่มีชีวิตแล้ว ถือว่ามีความปลอดภัยสูง ซึ่งผลการทดลองก็พบว่าวัคซีน Sinovac มีผลข้างเคียงน้อย และไม่มีอาการรุนแรง และป้องกันการติดเชื้อ50.4 %สำหรับผู้ที่มีอาการป่วยที่น้อยมาก แต่ป้องกันผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงได้ 100% และสามารถฉีดได้เฉพาะในกลุ่มอายุ 18-59 ปี
วัคซีน โควิด 19 ทั่วโลก ยี่ห้ออื่นๆ
- วัคซีนโทซินาเมแรน (tozinameran) ชื่อการค้าคือ Comirnaty ที่รู้จักกันในชื่อว่า “Pfizer-BioNTech COVID-19 vaccine” พัฒนาโดยบริษัท BioNTech (Biopharmaceutical New Technologies) ร่วมกับบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ผลิตโดยบริษัทไฟเซอร์ เป็นวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอที่ผ่านการดัดแปลง (nucleoside-modified mRNA vaccine) มีใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปรวมถึงสหราชอาณาจักร และอีกหลายประเทศ โดยใช้ป้องกันโควิด-19 ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ในขนาด 0.3 มิลลิลิตร ฉีดเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 2 เข็ม โดยเว้นช่วงห่างกัน 3 สัปดาห์
- วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ-1273 (mRNA-1273) ที่รู้จักกันในชื่อว่า “Moderna COVID-19 vaccine” พัฒนาโดยหน่วยงาน NIAID (National Institute of Allergy and Infectious Diseases), BARDA (Biomedical Advanced Research and Development Authority) และบริษัทโมเดอร์นา (Moderna) ผลิตโดยบริษัทโมเดอร์นา เป็นวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอที่ผ่านการดัดแปลง มีใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปรวมถึงสหราชอาณาจักร แคนาดาและอีกหลายประเทศ โดยใช้ป้องกันโควิด-19 ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในขนาด 0.5 มิลลิลิตร ฉีดเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 2 เข็ม โดยเว้นช่วงห่างกัน 1 เดือน
- วัคซีนเอแซดดี-1222 (AZD1222) ที่รู้จักกันในชื่อว่า “Oxford-AstraZeneca vaccine” พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford University) ร่วมกับบริษัทแอสทราเซเนกา (AstraZeneca) ผลิตโดยบริษัทแอสทราเซเนกา เป็นวัคซีนที่มีอะดรีโนไวรัสเป็นพาหะ (modified chimpanzee adenovirus-vectored vaccine) มีใช้ในสหราชอาณาจักร อินเดีย เม็กซิโกและอีกบางประเทศ โดยใช้ป้องกันโควิด-19 ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในขนาด 0.5 มิลลิลิตร ฉีดเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 2 เข็ม โดยเข็มที่สองห่างจากเข็มแรก 4-12 สัปดาห์
- วัคซีนBBIBP-CorV ที่รู้จักกันในชื่อว่า “Sinopharm COVID-19 vaccine” เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย ผลิตโดยบริษัทซีโนฟาร์ม (Sinopharm–China National Pharmaceutical Group) มีใช้ในประเทศจีนและอีกบางประเทศ
- วัคซีนAd5-nCoV พัฒนาโดยหน่วยงาน Beijing Institute of Biotechnology ร่วมกับบริษัท CanSino Biologics ผลิตโดยบริษัท CanSino Biologics เป็นวัคซีนที่มีอะดรีโนไวรัสเป็นพาหะ มีใช้ในประเทศจีน
- วัคซีนCoronaVac ที่รู้จักในชื่อว่า “Sinovac vaccine” ผลิตโดยบริษัท Sinovac Biotech เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย มีใช้ในประเทศจีนและอีกบางประเทศ
- วัคซีนGam-COVID-Vac ที่รู้จักกันในชื่อการค้าว่า “Sputnik V” พัฒนาโดยหน่วยงาน Gamaleya Research Institute of Epidemiology and Microbiology เป็นวัคซีนที่มีอะดรีโนไวรัส 2 ชนิดเป็นพาหะ มีใช้ในประเทศรัสเซียและอีกหลายประเทศ
- วัคซีนBBV152 (ชื่อการค้าคือ Covaxin) ที่รู้จักในชื่อว่า Bharat Biotech’s COVID-19 vaccine พัฒนาโดยหน่วยงาน ICMR (Indian Council of Medical Research) ร่วมกับบริษัท Bharat Biotech ผลิตโดยบริษัท Bharat Biotech เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย มีใช้ในประเทศอินเดีย
อาการและผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของวัคซีนเหล่านี้อาจพบได้หลายอย่าง ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ยกเว้นรายที่เกิดการแพ้ยา ซึ่งอาการที่พบบ่อย คือ ปวด บวม แดง คัน และมีรอยช้ำบริเวณที่ฉีด ร่างกายอ่อนล้า ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกไม่สบาย ต่อมน้ำเหลืองโต และควรเพิ่มความระมัดระวังเรื่องการแพ้วัคซีนในผู้สูงอายุ
อนาคตประเทศไทยกับวัคซีนระยะที่ 3
วัคซีนโควิด-19 ชนิดที่คาดว่าจะนำมาใช้รักษาในระยะที่ 3 อยู่ระหว่างการศึกษาทางคลินิกระยะที่ 3 (รวมถึงระยะที่ 2/3) ซึ่งคาดว่าจะได้รับอนุมัติทะเบียนอย่างสมบูรณ์หรืออนุมัติให้ใช้กรณีฉุกเฉินจำนวนหลายผลิตภัณฑ์ ดังตัวอย่างที่จะกล่าวถึงข้างล่างนี้
- Ad26.COV2.S ที่รู้จักในชื่อว่า “Janssen COVID-19 vaccine” ผลิตโดยบริษัท Janssen Pharmaceutica (Johnson & Johnson) เป็นวัคซีนที่มีอะดรีโนไวรัสเป็นพาหะ
- NVX-CoV2373 ผลิตโดยบริษัท Novavax เป็นชนิดวัคซีนซับยูนิต ประกอบด้วยสไปก์โปรตีนชนิดที่พัฒนาขึ้น (SARS-CoV-2 recombinant spike protein nanoparticle) และมีสารเสริมฤทธิ์
- ZF2001 พัฒนาโดยบริษัท Anhui Zhifei Longcom Biopharmaceutical ร่วมกับหน่วยงาน Institute of Microbiology Chinese Academy of Sciences ผลิตโดยบริษัท Anhui Zhifei Longcom Biopharmaceutical เป็นชนิดวัคซีนซับยูนิต ที่ประกอบด้วยสไปก์โปรตีนชนิดที่พัฒนาขึ้นและมีสารเสริมฤทธิ์
- Zorecimeran (ชื่ออื่นคือ CVnCoV) ผลิตโดยบริษัท CureVac เป็นวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอที่ผ่านการดัดแปลง
- CoVLP ผลิตโดยบริษัท Medicago ร่วมกับบริษัทแกล็กโซสมิทไคล์น (GlaxoSmithKline หรือ GSK) เป็นวัคซีนชนิดอนุภาคเหมือนไวรัสที่พัฒนาจากพืช (plant-derived virus-like particle vaccine) และมีสารเสริมฤทธิ์
- ZyCoV-D ผลิตโดยบริษัท Cadila Healthcare (Zydus Cadila) เป็นวัคซีนชนิดดีเอ็นเอ
- INO-4800 ผลิตโดยบริษัท INOVIO Pharmaceuticals เป็นวัคซีนชนิดดีเอ็นเอ (ชนิด plasmid pGX9501)
ประวัติและที่มาของโรคระบาดโควิด 19
การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19, โควิด-19) สาเหตุนั้นเกิดมาจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 มีการค้นพบการติดเชื้อดังกล่าวในนครอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ในวันที่ 30 มกราคม 2563 และประกาศให้เป็นโรคระบาดทั่วไปหลังจากมีการติดต่อเชื้อในระดับชุมชนอย่างต่อเนื่องช่วงเวลาหนึ่งในหลายภูมิภาคของโลก
ซึ่งไวรัสมีการแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คน ในลักษณะเดียวกับไข้หวัดใหญ่ โดยผ่านการติดเชื้อจากละอองเสมหะที่มาจากการไอ และจากสารคัดหลั่งต่างๆ ซึ่งมีหลายทฤษฎีว่าผู้ป่วยรายแรก (First case) หรือผู้ป่วยต้นปัญหา (Index Case) ที่ทราบกันครั้งแรกของผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ถูกตรวจสอบย้อนกลับไปในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ในนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน
โดยมีข่าวที่อ้างถึงเอกสารรัฐบาลจีนที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยกรณีแรกเป็นชายอายุ 55 ปีที่ป่วยเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 และเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม คณะแพทย์จากโรงพยาบาลกลางอู่ฮั่นที่นำทีมโดย พญ. อ้าย เฟิน ได้เริ่มแถลงการเตือนเรื่อง “ไวรัสโคโรนา-คล้ายโรคซาร์ส” แต่แพทย์ชาวจีนแปดคนถูกรัฐบาลจับกุมตัวในข้อหาแพร่ข่าวลือที่เป็นเท็จ รวมถึงนายแพทย์ หลี่ เหวินเลี่ยง ในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร เหรินวู่ ส่วนพญ.อ้าย เฟิน กล่าวว่าเธอถูกตำหนิหลังจากแจ้งผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานของเธอเกี่ยวกับการพบกรณี ไวรัส ที่มีลักษณะคล้ายโรคซาร์สในผู้ป่วยช่วงเดือนธันวาคม จนเดือนถัดมาจำนวนผู้ป่วยกรณีไวรัสโคโรนาในมณฑลหูเป่ย์ ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็น 200 คน ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563
ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 มีการรายงานผู้ป่วยโรคปอดบวมที่ไม่ทราบสาเหตุจำนวนหนึ่งต่อหน่วยงานด้านสุขภาพในนครอู่ฮั่น ทำให้เกิดการเริ่มต้นสอบสวนโรค กรณีเหล่านี้ส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับตลาดขายส่งอาหารทะเลหัวหนาน ซึ่งขายสัตว์มีชีวิตด้วย ดังนั้นจึงเชื่อว่าโรคจากไวรัสนี้เป็นโรครับมาจากสัตว์
เมื่อวันที่ 20 มกราคมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีนยืนยันว่า การติดเชื้อโรค COVID-19 จากมนุษย์สู่มนุษย์ได้ปรากฏขึ้น และวันที่ 24 มกราคม องค์การอนามัยโลก ได้ปรับปรุงคำแนะนำการเดินทาง ซึ่งมีการแนะนำการคัดกรองการผ่านเข้าออกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และยังคงให้คำแนะนำต่อการจำกัดการเดินทาง เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ WHO ได้เพิ่มการประเมินความเสี่ยงของการแพร่ระบาดไปทั่วโลกว่า “สูงมาก” เมื่อวันที่ 13 มีนาคม WHO ได้ประกาศให้ยุโรปเป็นศูนย์กลางของการระบาดใหญ่ครั้งใหม่ หลังจากที่อัตราผู้ป่วยรายใหม่ในยุโรปสูงกว่าภูมิภาคอื่นของโลกนอกเหนือจากจีน
อาการ โควิด 19 ทั่วโลก
อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ไอ หายใจลำบากภาวะแทรกซ้อนอาจรวมไปถึงปอดบวม และกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน โดยยังไม่มีวัคซีนที่ได้รับอนุญาตหรือยาต้านไวรัสจำเพาะ แต่กำลังมีการวิจัยและทดลองใช้อยู่ขณะนี้ การรักษาจึงพยายามมุ่งเป้าไปที่การจัดการกับอาการ และรักษาแบบประคับประคอง มาตรการป้องกันที่มีการแนะนำ คือ การล้างมือ การอยู่ห่างจากบุคคลอื่น (โดยเฉพาะกับบุคคลที่ป่วย) ติดตามอาการ และกักตนเองเป็นเวลา 14 วัน ในกรณีที่สงสัยว่าตนอาจติดเชื้อ
วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น
- ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร ขยี้ตา และจมูก
- กินอาหารร้อน และใช้ช้อนกลาง
- ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน
- หลีกเลี่ยงพื้นที่แอร์อัด
ข้อมูลผู้ป่วยโควิด 19 ประเทศไทย
ข้อมูล ณวันที่ 8 เมษายน 2564
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ