อยากเป็นนักเทรด Olymp Trade เริ่มต้นตรงไหนดี ใครก็ได้ช่วยสาธิตวิธีการเทรด โอลิมเทรด ให้หน่อย อยากเทรด Olymp Trade Forex สบายๆ สูตรเทรด แบบไหน ได้กำไรง่ายๆ แชร์มา แชร์ต่อ กันไปจ้า
ในกลุ่ม Olymp Trade Thailand ชุมชนออนไลน์ นักเทรด มีนักเทรดหลายคนที่แชร์วีดีโอวิธีการเทรดของพวกเขาลงในกลุ่ม และพวกเราก็รวบรวมวีดีโอที่มีประโยชน์ไปไว้ในช่องยูทูปชื่อ Olymp Trade ชุมชนออนไลน์ นักเทรด
สูตรเทรด Olymp Trade Forex สบายๆ
ทั้งการเทรด FTT แบบกำหนดเวลาสิ้นสุดเทรด และ Forex สามารถใช้สูตรการเทรดร่วมกันได้เนื่องจากเป็นการวิเคราะห์ทิศทางของการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ ความแตกต่างมีเพียงเรื่องของทามเฟรมในการวิเคราะห์ที่จะวิเคราะห์ทามเฟสรมใหญ่ขึ้นในการเทรด Forex ซึ่งทามเฟรมเล็กสุดที่วิเคราะห์ Forex คือทามเฟรม 1 ชั่วโมง ซึ่งจะใช้การพิจารณาเทรนด์หรือรูปแบบแท่งเทียนเหมือนกันกับสูตรการเทรดอื่น
1. สูตรเทรดโดยพิจารณาจุดกึ่งกลาง (Pivot)
สูตรที่ใช้ในการคำนวณหาค่า จุดกึ่งกลาง (Pivot) คือ Pivot = (High + Low +Close)/3 จุดกึ่งกลาง = (ราคาสูงสุด + ราคาต่ำสุด+ ราคาปิด) หารด้วย 3 หรือ P = (H+L+C)/3
ตัวอย่างการคำนวน
High = 1.2577 , Low=1.2353, Close=1.2367, ดังนั้น Pivot = ( 1.2577+1.2353+1.2367) นั่นคือ Pivot = 1.2432 กราฟที่นำมาคำนวนเป็นกราฟของวันก่อนหน้า เพื่อนำการคำนวนนี้มาดูกราฟในวันปัจจุบันที่จะเทรด ให้ดูว่าราคาวิ่งขึ้นไปแตะ จุดกึ่งกลาง (Pivot) หรือใกล้เคียง แล้วก็เตรียมออกออเดอร์ได้ ตัวเลขเหล่านี้ศึกษาได้ในเรื่อง Fibonacci
2. สุตรการหาแนวรับ-แนวต้านโดยใช้จุดกึ่งกลาง (Pivot)
สูตรที่ใช้ในการคำนวณหาค่า แนวรับ (Suport) และ แนวต้าน (Resistance) คือ S1=P-0.382(H-L) S2=P-0.50(H-L) S3=P-0.618(H-L) R1=P+0.382(H-L) R2=P+0.50(H-L) R3=P+o.618(H-L)
ความหมายของตัวย่อ;
แนวรับ (Suport)
S1 คือ แนวรับที่ 1 (Support 1) S2 คือ แนวรับที่ 2 (Support 2) S3 คือ แนวรับที่ 3 (Support 3)
แนวต้าน( Resistance)
R1 คือ แนวต้านที่ 1 (Resistance 1) R2 คือ แนวต้านที่ 2 (Resistance 2) R3 คือ แนวต้านที่ 3 (Resistance 3)
3. คอนเวอร์เจนซ์ (Convergence)
Convergence คือ สัญญาณคล้อยตามกัน หรือ มีทิศทางเดียวกัน ระหว่างราคาและตัวชี้วัด ที่บ่งบอกถึงสัญญาณการกลับตัวของกราฟ ตัวอย่างกราฟ Bitcoin 30 นาที ที่แสดงลักษณะของ Convergence Bearish (ขาลง)
ราคา
ราคาได้แสดงจุดสูงสุดใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งต่ำกว่าจุดสูงสุดเก่าที่ราคาเคยทำไว้ (วงกลมในภาพด้านล่าง) จะเห็นว่า H2 ต่ำกว่า H1 และ H3 ต่ำกว่า H2 ลักษณะเช่นนี้ คือ ลักษณะของการเกิดแนวโน้มขาลง (Down Trend)
ตัวบ่งชี้ หรือ ตัวอินดี้ (Indicator)
ตัวอินดิเคเตอร์ที่เราใช้ในภาพคือ RSI – Relative Strength Index ตั้งค่า 14 / Williams %R ตั้งค่า 14 / MACD ตั้งค่า 12, 26 และ 9 ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นค่ามาตรฐานที่ตั้งมาแล้ว ไม่ต้องเปลี่ยนค่าอะไรให้ยุ่งยาก และเราจะเห็นว่าจุดสูงสุดใหม่ของ Indicator นั้นต่ำกว่าจุดสูงสุดเก่าที่เคยทำไว้ และเมื่อเราลากเส้นเปรียบเทียบกันเราก็จะพบว่า Slop หรือ ความชันลาดลง (ตามภาพด้านบน) นั่นแสดงให้เห็นว่า Indicator กำลังบ่งบอกเราว่าจะเกิดแนวโน้มขาลงในไม่ช้า
สำหรับ Convergence Bullish (ขาขึ้น) จะมีลักษณะที่ตรงข้ามกับที่กล่าวมาด้านบน คือ ทั้งจุดสูงสุดใหม่ที่เกิดขึ้นในกราฟราคาและอินดิเคเตอร์จะอยู่สูงกว่าจุดสูงสุดก่อนหน้า หรือหาก H2 สูงกว่า H1 และ H3 สูงกว่า H2 นั่นคือสัญญาณการเกิดแนวโน้มขาขึ้น (Up Trend)
4. ไดเวอร์เจนซ์ (Divergence)
นอกจากจะดูสัญญาณ Convergence แล้ว เราต้องดู สัญญาณ Divergence ด้วย ซึ่ง Divergence คือ สัญญาณขัดแย้งกัน หรือมีทิศทางที่ตรงข้ามกัน ระหว่าง ราคา กับ Indicator อย่างไรก็ตามสัญญาณ Convergence จะบ่งบอกการกลับตัวได้ดีกว่า สัญญาณ Divergence สัญญาณ Divergence ไม่ได้บ่งบอกว่า “ราคาจะกลับตัว” แต่จะบ่งบอกว่า “สภาวะตลาด ณ ช่วงเวลานั้นเริ่มอ่อนแรงแล้ว และจะเกิดการพักตัว”
สิ่งเหล่านี้คือพฤติกรรมของกราฟ ณ ปัจจุบัน ลักษณะแบบนี้พบบ่อยมากทั้งในกราฟ Olymp Trade ฟอเร็ก และ FTT
ขอบคุณข้อมูลจากเทรดเดอร์แทน
**การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดระมัดระวังในการลงทุน และลงทุนด้วยความไม่ประมาท**
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ