สำหรับเทรดเดอร์ที่ยังไม่เคยใช้แพล็ตฟอร์ม OlympTrade MT4 หรือไม่เคยรู้จัก MT4 มาก่อนเลย สามารถศึกษาเครื่องมือในแพล็ตฟอร์มนี้ได้ที่นี่ เพราะเรากำลังจะนำคุณทัวร์ไปด้วยกันทั่วแพล็ตฟอร์ม เพื่อดูว่ามีเครื่องมืออะไรบ้าง และใช้งานอย่างไร เพื่อใช้ทำกำไรในการลงทุนของคุณ.
การเทรด MT4 ด้วยบัญชี OlympTrade นั้นสามารถทำได้ 2 ช่องทางคือ เว็บ Metatrader4 (MT4) และแอพ Metatrader 4 (MT4) ในบทความนี้จะใช้แพล็ตฟอร์มรูปแบบเว็บในการอธิบาย อย่างไรก็ตาม เครื่องมือและไอเท็มทั้งหมดเป็นแบบเดียวกันกับบนแอพ.
OlympTrade MT4 ในเมนูมีอะไร?
สำหรับในเว็บ metatrader โอลิมเทรด จะมีเมนูของโอลิมเทรดอยู่รอบๆดังต่อไปนี้ หมายเลข 01 เป็นหน้าโปรไฟล์ของผู้ใช้งานซึ่งจัดแสดงสถานะบัญชีเทรด ชื่อเจ้าของบัญชี หมายเลข ID ของบัญชีเทรด กิจกรรมการแข่งขัน ปุ่มการตั้งค่าโปรไฟล์ และปุ่มออกจากระบบ และในหมายเลข 02 ก็เป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะของบัญชีเทรด ส่วนหมายเลข 03 เป็นปุ่มการถอนเงินและหมายเลข 04 เป็นปุ่มการฝากเงิน
(รูปภาพที่ 1 : เมนู OlympTrade Metatrader 4)
สำหรับหมายเลข 05 ถึง 08 จะนำเสนอตามภาพดังต่อไปนี้ หมายเลข 05 เป็นตัวเลือกการช่วยเหลือซึ่งจะสามารถตอบข้อสงสัยต่างๆเบื้องต้นที่เทรดเดอร์ต้องการทราบ และหากเทรดเดอร์ต้องการสอบถามโดยตรงกับเจ้าหน้าที่โอลิมเทรดก็สามารถกดที่ปุ่ม “ช่วยเหลือลูกค้า” เพื่อพูดคุยในแชทสดกับเจ้าหน้าที่ได้ และสำหรับนักเทรดบัญชี Expert สามารถติดต่อ “ผู้วิเคราะห์ส่วนตัว” ให้โทรกลับตามหมายเลขโทรศัพท์ที่คุณให้ไว้ในบัญชีเทรดได้ด้วย
ในแพลตฟอร์มการเทรดมีเครื่องมืออะไรบ้าง?
(รูปภาพที่ 2 : เครื่องมือเทรดในแพล็ตฟอร์ม OlympTrade Metatrader 4)
1. หมายเลข 09 เป็นปุ่ม “เปิดใช้งานเต็มหน้าจอ” ที่จะทำให้คุณดูกราฟและเครื่องมือต่างๆได้ชัดเจนมากขึ้น แบบไม่มีแถบ URL หรือแถบเว็บอื่นๆมากวนใจในขณะเทรด
2. หมายเลข 10 เป็นแถบทามเฟรมของกราฟราคาสินทรัพย์ที่แสดง คุณสามารถดูกราฟในระยะเวลาสั้นสุดตั้งแต่แท่งเทียนละ 1 นาที ไปจนถึงยาวที่สุดแท่งเทียนละ 1 เดือน การดู ทามเฟรม (Time Frame) จะช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ราคาสินทรัพย์ในภาพรวมก่อนตัดสินใจซื้อขายได้
3. หมายเลข 11 คือเครื่องมือที่เรียกว่า Equidistant Chanel ใช้ในการตีกรอบเทรนด์เพื่อให้ Trader สามารถรู้ว่าจุดไหนควรเข้าเทรดจุดไหนไม่ควรเข้าเทรด
4. หมายเลข 12 คือตัวบ่งชี้ Fibonacci Retracement ที่อยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ และแสดงผลเป็นอัตราส่วนระหว่างชุดตัวเลข ดังนั้นเมื่อคุณใช้เครื่องมือนี้วาดลงบนกราฟ คุณจะเห็นเส้นที่เรียงตัวเป็นแนวนอนในหลายระดับหลายเส้น ตัวอย่างตามภาพด้านล่างนี้
7. หมายเลข 17 คือ เป้าเล็ง (Crosshair) ที่จะเปลี่ยนเม้าส์จากลูกศรเป็นเส้นยาวในแกน X และแกน Y ซึ่งมีไว้ใช้วัดแนวราคาของแท่งเทียนที่เราต้องการทราบได้ วิธีใช้คือการคลิกเมาส์สายที่จุดเริ่มต้นค้างไว้แล้วลากไปยังจุดที่ต้องการวัด
8. หมายเลข 18 คือการแสดงเมาส์เป็นแบบลูกศร
9. หมายเลข 19 คือปุ่ม “เลื่อนจุดสิ้นสุดของกราฟจากขอบด้านขวา” ซึ่งเมื่อใช้ตัวเลือกนี้กราฟจะอยู่ห่างจากขอบด้านขวา 1 ช่อง เทรดเดอร์จะเห็นว่าการตั้งค่าแบบนี้ทำให้ดูกราฟสบายตาขึ้น เพราะราคาดูไม่ตกขอบด้านขวาจนเกินไป
10. หมายเลข 20 คือปุ่ม “เลื่อนกราฟไปที่จุดสิ้นสุดเมื่อมีราคาใหม่เกิดขึ้น” เมื่อเปิดใช้เครื่องมือนี้ แม้คุณจะพยายามเลื่อนดูประวัติกราฟ กราฟก็จะกลับมาอยู่ที่ราคาช่วงปัจจุบันเสมอ ดังนั้นหากคุณต้องการที่จะดูประวัติกราฟย้อนหลังจะต้องมั่นใจว่าคุณไม่ได้กดเปิดใช้เครื่องมือนี้ไว้อยู่
11. หมายเลข 21 ที่มีไว้ย่อขยายกราฟ เครื่องมือนี้จะทำการย่อขยายเพียงแค่กราฟเท่านั้น โดยที่ส่วนอื่นๆจะไม่ย่อขยายตามไปด้วย
12. หมายเลข 22 เป็นตัวเลือกลักษณะกราฟที่แสดง คุณสามารถเลือกแสดงกราฟเป็นแบบกราฟแท่ง แท่งเทียน หรือกราฟเส้น ลักษณะกราฟที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่นิยมใช้คือการแสดงกราฟในรูปแบบแท่งเทียน
13. หมายเลข 23 คือ “สัญลักษณ์” ให้คุณสามารถตั้งค่าแสดงสินทรัพย์ที่คุณใช้เทรดและซ่อนสินทรัพย์ที่คุณไม่ได้ใช้ สินทรัพย์จะถูกจัดอยู่ใน 3 กลุ่มคือ กลุ่ม Major, กลุ่ม ot-fx-ecn และกลุ่ม ot-cfd-ecn บัญชีของคุณที่ติดอยู่เป็นบัญชี Standard คุณจะต้องเทรดในกลุ่มเมเจอร์ และหากบัญชีที่คุณใช้งานอยู่คือบัญชี ecn คุณต้องเทรดในกลุ่ม ecn
14. หมายเลข 24 คือ ปุ่มเปิดการซื้อขายหรือคำสั่ง เมื่อกดปุ่ม “คำสั่ง” แล้ว จะขึ้นหน้าตั้งค่าคำสั่งที่ประกอบไปด้วย “สัญลักษณ์” คือคู่สกุลเงินหรือสินทรัพย์ที่ต้องการเปิดออเดอร์ ถัดมาคือ Volume เป็นหน่วยวัดของขนาดสัญญาสำหรับการเทรดคู่สกุลเงินหรือสินทรัพย์ หรือเรียกอีกชื่อว่า ล็อต (Lot) โดยคุณสามารถเลือกล็อตได้ต่ำสุด 0.01 ยิ่งเทรดด้วยล็อตมากเท่าไรก็ยิ่งเสี่ยงมากเท่านั้น มีโอกาสทำกำไรได้เร็วหากกราฟเป็นไปในทิศทางที่ซื้อขาย แต่ก็สามารถขาดทุนได้เร็วเช่นกันเมื่อกราฟไม่เป็นไปในทิศทางที่คุณซื้อขาย.
ช่องถัดมาคือ Stop Loss การหยุดขาดทุน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการเทรด Forex ในตลาดที่มีการแกว่งตัวสูง หากไม่มีการหยุดขาดทุน เงินลงทุนอาจจะเป็น 0 ได้ ให้คุณตั้งจุดราคาที่คิดว่าสุญเสียได้ และไม่อยากเสียมากไปกว่านั้น. ถัดจากช่อง Stop Loss คือช่อง Take Profit เราสามารถเลือกตั้งไว้ว่าจะให้ปิดกำไรเมื่อกราฟถุงจุดราคาไหน ซึ่งเมื่อกราฟวิ่งมาถึงจุด Take Profit (TP) ที่ตั้งไว้ก็จะทำการปิดออเดอร์ และให้เราได้รับผลกำไรทันที.
ข้ามมาที่ช่อง “ประเภท” จะมีให้เลือก 2 ประเภทคือ Market Execution ที่จะเปิดเทรดทันที และประเภท Pending Order ที่ตั้งค่าให้เปิดเทรดเมื่อราคาถึงจุดที่ตั้งไว้ และขั้นตอนสุดท้ายคือกดเลือกทิศทางการซื้อ-ขายเพื่อเปิดเทรด.
16. กรอบสีเหลืองคือทางลัดการเปิดออเดอร์ หมายเลข 27 คือ Volume หรือ Lot ปุ่มหมายเลข 28 คือคำสั่ง Buy หรือการเทรดขึ้น หมายเลข 29 คือราคาในจุด Buy ขณะนั้น หมายเลข 30 หรือปุ่มคำสั่ง Sell หรือเทรดลง และหมายเลข 31 คือราคาในจุด Sell ขณะนั้น
17. หมายเลข 32 คือ Toolbox ที่แสดง การออเดอร์ที่เปิดอยู่ ประวัติการเทรด และบันทึกการเทรด และในส่วนนี้ยังแสดงยอดเงินในบัญชีของคุณด้วย
แถบเมนูหลัก ที่ควรรู้
แฟ้ม – จะมีเครื่องมือการตั้ง “กราฟใหม่” มีปุ่มเลือกระหว่าง MT4 และ MT5 ให้คุณเลือกใช้ตามความถนัด ในตัวเลือก “เปลี่ยนไปยังบัญชี” ใช้ในกรณีที่คุณมีหลายบัญชีก็สามารถสลับสับเปลี่ยนใช้แต่ละบัญชีได้ที่ตัวเลือกนี้ หากคุณต้องการบัญชีทดลองก็สามารถกดที่ปุ่ม “เปิดบัญชีทดลอง” ได้เลย และหากคุณต้องการลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชีอื่นเพิ่มเติมก็สามารถกดที่ปุ่ม “ลงชื่อเข้าใช้บัญชีซื้อขาย” ได้ และสุดท้ายคือปุ่ม “ลงชื่อออก”
OlympTrade MT4 วิธีเปิดบัญชี ECN วิธีเปิดเทรด
**การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดระมัดระวังในการลงทุน และลงทุนด้วยความไม่ประมาท**
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ