การเทรด กับ Olymp Trade สอน ว่า สิ่งที่นักเทรดต้องท่องให้ขึ้นใจคือ ไม่มีเทคนิคไหนได้ผล 100% แต่ละเทคนิค แต่ละกลยุทธ์ ต้องพิจารณาใช้ให้ถูกสถานการณ์ ที่สำคัญคือต้องไม่ Over Trade (ภาวะที่เทรดติดต่อกันนานเกินไป หรือหลายออเดอร์เกินไป) ต้องมีระบบจัดการเงินทุน (Momey Management: MM) ที่ดีด้วย ในบทความนี้เราจะแนะนำเทคนิคทั้งหมด 4 แบบ คือ Price Action (การเคลื่อนไหวของราคา) เทรดโดยใช้ SMA 2 เส้น แนวต้าน-แนวรับ จุดไข่ปลาพาราโบลิค
1. Price Action
Price Action คือการเปลี่ยนแปลงราคาสินทรัพย์หรือคู่เงิน หรือเรียกอีกอย่างว่าการเคลื่อนไหวของราคา เราจะสังเกตเห็น Price Action ได้ในตลาดที่มีสภาพคล่องและมีความผันผวนสูงสุด นักเทรดมักใช้เทคนิคนี้ในการเทรด Forex แต่นักเทรดบางท่านก็ใช้เทคนิคนี้ในการเทรด Fixed Time Trade: FTT แบบระยะยาวด้วย ลองมาดู Price Action ขาขึ้นและขาลงกัน
สัญญานเปิดเทรดขึ้น
การจะเข้าออเดอร์ขาขึ้น (Buy) โดยดูรูปแบบ Price Action ขาขึ้นนั้นต้องทำในขณะที่กราฟมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นเท่านั้น และจะไม่เทรดขาลง (Sell) เลยในเทรนขาขึ้นนี้ ส่วนทามเฟรม (Time Frame) ที่จะใช้พิจารณาต้องไม่ต่ำกว่า 1H (1 ชั่วโมง) ขึ้นไป และเข้าออเดอร์ตั้งแต่ 1 ชั่วโมง เป็นต้นไป หรือหากเป็นการเทรด Forex ควรตั้งเส้น SL (Stop Loss) ไว้แนวรับเทรนขาขึ้น และตั้ง TP (Take Profit) ไว้ก่อนจะถึงเส้นแนวต้าน การเปิดออเดอร์ให้เปิดในแท่งสีดำด้านขวามือแท่งแรก .
*สีแดง คือ แท่งเทียนที่มีจุดปิดต่ำกว่าจุดเปิด
**สีเขียว คือ แท่งเทียนที่มีจุดปิดสูงกว่าจุดเปิด
***สีดำ คือ อาจจะเป็นแท่งเทียนสีเขียวหรือแดงก็ได้ .
สัญญานเปิดเทรดลง
การเปิดออเดอร์ Forex ไม้แรกควรเปิด lot น้อยๆก่อน ในกรณีเทรดขาขึ้น ถ้ากราฟผ่านแนวต้านไปได้ค่อยเพิ่มออเดอร์ ส่วนในกรณีเทรดขาลง ถ้ากราฟผ่านแนวรับไปได้ ค่อยเพิ่งออเดอร์
2. เทรดโดยใช้ SMA 2 เส้น
สูตรนี้จะใช้ตัวบ่งชีคือ SMA ตัวเดียว โดยจะใช้ SMA ทั้งหมด 2 เส้นด้วยกันและทำตามขั้นตอนดังนี้
- ตั้งค่าทามเฟรมกราฟที่ 5 นาที
- ตั้งค่า SMA 2 เส้น โดยที่เส้นหนึ่งตั้งค่าให้อยู่ที่ 60 ในบทความนี้จะเรียกว่า “ SMA เส้นใหญ่” แล้วจะตั้งเป็นเส้นสีส้มตามภาพด้านล่าง และ SMA อีกเส้นหนึ่งตั้งค่าให้อยู่ที่ 4 ในบทความนี้จะเรียกว่า “SMA เส้นเล็ก” ตั้งเป็นเส้นสีเขียวตามภาพด้านล่าง (ทั้งสองเส้นสามารถตั้งค่าสีได้ตามใจชอบ)
- เมื่อเส้นเขียวตัดขึ้นหมายถึงกราฟที่กำลังจะขึ้น สามารถเปิดเทรดขึ้นได้ และเมื่อเส้นเขียวตัดลงก็สามารถเปิดเทรดลงได้ ระยะเวลาการเทรดสามารถตั้งเทรด 25-30 นาทีต่อไม้
3. แนวต้าน-แนวรับ
เริ่มต้นด้วยการดูจุด Swing High และ จุด Swing Low หรือจะเรียว่า จุดต่ำ-จุดสูง ของคลื่นกราฟก็ได้ กราฟมีการเคลื่อนที่ในลักษณะของคลื่น ทำให้เกิดจุด Swing High และ จุด Swing Low ในภาพด้านล่าง จุด Swing High คือในวงกลมสีเขียว และจุด Swing Low คือในวงกลมสีแดง
สิ่งที่ทำให้เกิดจุดเหล่านี้ในขาขึ้นคือผู้คนในตลาดเห็นว่าราคาขึ้นมาในจุดที่ควรขายแล้วจึงขายออก ทำให้ราคาที่วิ่งขึ้นมาเรื่อย ๆ ก่อนหน้านั้นเริ่มวิ่งต่ำลง ส่วนในขาลง ลักษณะการเกิดจะเหมือนกัน ต่างกันที่เป็นแรงซื้อ . แนวโน้มก็เกิดจากจุด Swing High และ จุด Swing Low มาประกอบกันนี่เอง เช่นเดียวกัน แนวรับ-แนวต้านก็เกิดจาก 2 จุดนี้ด้วย
วิธีการดูแนวรับ
ให้ดูที่ราคาล่าสุดแล้วมองย้อนกลับไป ถ้าเจอจุดต่ำก่อนหน้า ซึ่งจะย้อนเลยจุดต่ำปัจจุบันไป 1 จุด จุดต่ำก่อนหน้านี้จะเป็น “แนวรับ” แนวรับเป็นจุดที่นักเทรดเห็นว่าราคาไม่น่าจะลงไปมากกว่านี้แล้ว จึงทำการซื้อพยุงไว้หรือกดเทรดขึ้น เป็นจุดที่มี Demand เข้ามา เพื่อพยุงราคาไม่ให้ต่ำลงจากราคาที่พวกเขาคิดไว้ ดังนั้น จะเห็นว่าเมื่อราคาวิ่งต่ำลงมาที่แนวรับ ราคามักจะเด้งกลับขึ้นมาเสมอ ซึ่งเราจะเรียกภาวะนี้ว่า “ราคาไม่หลุดแนวรับ” หรือ “แนวรับ รับอยู่” (Support Hold) ดูภาพประกอบด้าน
ล่าง
วิธีการดูแนวต้าน
ให้ดูที่ราคาล่าสุดแล้วมองย้อนกลับไป หากเจอจุดสูงก่อนหน้า ซึ่งจะย้อนเลยจุดสูงปัจจุบันไป 1 จุด จุดสูงก่อนหน้านั้นคือ “แนวต้าน” แนวต้านเป็นจุดที่นักเทรดเห็นว่าราคาไม่น่าจะขึ้นไปมากกว่านี้แล้ว จึงทำการขายกดเอาไว้หรือกดเทรดลง เป็นจุดที่มี Supply เข้ามา เพื่อกดราคาไม่ให้สูงขึ้นจากราคาที่พวกเขาคาดาดการณ์ไว้ ดังนั้นจะเห็นว่าเมื่อราคาวิ่งสูงขึ้นมาที่แนวต้าน ราคามักจะเด้งกลับลงมาเสมอ ซึ่งสภาวะนี้เราเรียกว่า “ราคาไม่ผ่านแนวต้าน” หรือ “แนวต้าน ต้านอยู่” (Resistance Hold) ดูภาพประกอบด้านบน
แนวรับกลายเป็นแนวต้าน
เกิดเมื่อราคาวิ่งทะลุแนวรับลงมา เราเรียกพฤติกรรมนี้ว่า “แนวรับกลายเป็นแนวต้าน” เมื่อเกิดพฤติกรรมนี้จึงควรเปิดเทรดลง
(Sell)
แนวต้านกลายเป็นแนวรับ
เกิดเมื่อราคาวิ่งทะลุแนวต้านขึ้นไป เราเรียกพฤติกรรมนี้ว่า “แนวต้านกลายเป็นแนวรับ” เมื่อเกิดพฤติกรรมนี้จึงควรเปิดเทรดขึ้น (Buy)
การเทรดจากการดู แนวต้าน-แนวรับ เป็นเทคนิคที่นักเทรดส่วนใหญ่ใช้ในการเทรด Forex หรือ หากเป็นการเทรดออฟชั่นก็จะเป็นการเทรดในยาว เช่น 1 ชั่วฌมงขึ้นไป และนิยมดูกราฟในทามเฟรมใหญ่ๆ 4 ชั่วโมง 1 วัน 1 สัปดาห์ และอื่นๆ
4. จุดไข่ปลาพาราโบลิค
เทคนิคนี้ใช้ตัวบ่งชี้ พาราโบลิค (Parabolic) ตั้งค่ามาตรฐานที่ 0.02 และตัวบ่งชี้ RSI ตั้งค่ามาตรฐานที่ 14 และคำพูดติดปากที่ว่า “กราฟจะมากินไข่ปลาเสมอ” การเทรดเทคนิคนี้จะดูกราฟทามเฟรม 15 วินาที และเปิดเทรด 1 นาที ได้
จุดที่พิจารณาเข้าออเดอร์ขาขึ้น (Buy) คือจุดที่เส้น RSI ลงมาต่ำกว่าเส้น 30 และจุดพาราโบลิคกำลังอยู่เหนือเเท่งเทียนตามภาพข้างบน
ส่วนจุดพิจารณาออเดอร์ขาลง (Sell) คือจุดที่เส้น RSI ขึ้นไปสูงกว่าเส้น 70 และจุดพาราโบลิคกำลังอยู่ใต้เเท่งเทียนตามภาพข้างบน .
คู่เงินที่นักเทรดนิยมเทรดและมักยกให้เป็นคู่สกุลเงินหลักคือ EUR USD ซึ่งมีเอร์เซ็นกำไรสูงและกราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่สำหรับนักเทรดที่ไม่ชอบการเทรดกราฟที่มีความผันผวนมาก ก็ให้หลีกเลี่ยงคู่สกุลเงินนี้ . นอกจากตัวบ่งชี้ที่พื้นฐานที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ก็ยังมีตัวบ่งชี้ที่อยากแนะนำอีกนั่นคือ MACD on olymp trade ซึ่งตัวบ่งชี้ MACD จะเเสดงผลค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ของราคา นักเทรดบางท่านก็เปิดตัวบ่งชี้ RSI ไปพร้อมกับ MACD ด้วย
วีดีโอสาธิตการเทรด
**การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดระมัดระวังในการลงทุน และลงทุนด้วยความไม่ประมาท**
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ