X

ไม่ตกเป็นเหยื่อวิกฤติ “ ไวรัส โคโรน่า ” COVID-19 รายงานปัจจุบัน

ในสถานการณ์วิกฤติขั้นรุนแรง ไวรัส โคโรน่า ระบาดไปทั่วโลก โรค COVID-19 ที่คร่าชีวิตผู้คน ความหวาดกลัวแผร่ปกคลุมไปทั่วสารทิศ นี่คืออาการของโรคโควิด 19 วิธีป้องกันไวรัส วิธีทำหน้ากากอนามัยด้วยตัวเองง่ายๆ ยอดผู้ติดเชื้อ ยอดผู้เสียชีวิต และที่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว ณ ปัจจุบัน   

ไวรัส โคโรน่า (Coronavirus) คืออะไร

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการค้นพบไวรัสโคโรน่า เพราะในช่วงปี 1960 นั่นคือการค้นพบครั้งแรก ซึ่งคนที่ได้รับเชื้อไว้รัสนี้เข้าไปจะมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วๆไป ไม่อันตรายอะไร คำว่า “โคโรน่า” เป็นคำในภาษาละติน มีความหมายว่า “มงกุฏ” เนื่องจากไวรัวชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายมงกุฏเมื่อส่งดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน  

เมื่อปลายปีพ.ศ.2562 หรือค.ศ. 2019 ได้มีการค้นพบ coronavirus สายพันธุ์ใหม่ ที่มีชื่อเฉพาะของเชื้อว่า 2019-nCoV ซึ่งเป็นไวรัสในลำดับที่ 7 ของไวรัสตระกูล coronaviruses lineage B, จีนัส betacoronavirus ซึ่งเหมือนกับเชื้อที่อยู่ในค้างคาวคือ bat-SL-CoVZC45, MG772933.1 และการก่อโรคในมนุษย์โดยเชื้อโรคในค้างคาวก็ถือเป็น zoonotic disease เช่นกัน

ไวรัส โคโรน่า กับ COVID-19 ต่างกันอย่างไร

โคโรน่า คือชื่อไวรัส ส่วน COVID-19 คือชื่อของโรค CO ย่อมาจาก Corona, VI ย่อมาจาก Virus และ D ย่อมาจาก Disease ส่วน 19 คือปีที่ค้นพบซึ่งคือปี 2019 นั่นเอง สรุปคือ ไวรัสโคโรน่าคือเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรค COVID-19 เราไม่สามารถพูดได้ว่าต้นตอของเชื้อไวรัสนี้เกิดมาจากประเทศไหน แต่ประเทศที่มีรายงานเรื่องการติดเชื้อไวรัสคือประเทศจีน เมืองอู่ฮั่น ทำให้ในช่วงแรกมีการเรียก “ไวรัสอู่ฮั่น” (Wuhan) จนได้มีการศึกษาและประกาศชื่ออย่างเป็นทางการจาก องค์การอนามัยโลก (WHO-World Health Organization)   

เมื่อมีอาการเหล่านี้ให้พบแพทย์ทันที

โรคระบาด COVID-19 ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสโคโรนาจะมีอาการคล้ายโรคระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลันรุนแรง โดยสามารถสังเกตุอาการได้ดังต่อไปนี้ 1.มีไข้สูง > 37.5 องศา 2.ไอ  3.เจ็บคอ 4.น้ำมูกไหล 5.หายใจเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก  

ทำอย่างไรให้ปลอดภัยจากไวรัสนี้

-ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ -ทานเนื้อสัตว์แบบสุกเท่านั้น -งดเนื้อสัตว์ป่า -หมั่นล้างมือหรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ -ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่ไอ จาม มีน้ำมูก -หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และมีมลภาวะเป็นพิษ -งดเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงต่อการมีโรคระบาด -ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก ถ้าไม่จำเป็น -ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ฯลฯ -ไม่สัมผัสสิ่งของในที่สาธารณะที่มีคนสัมผัสเยอะๆ เช่น ราวบันได ฯลฯ หรือล้างมือทันทีหลังสัมผัสสิ่งเหล่านั้น  

ยอดผู้ติดเชื้อ เสียชีวิต และที่รักษาหายแล้วปัจจุบัน

อัพเดตยอดผู้ติดเชื้อในประเทศไทยปัจจุบัน

ตามสถิติข้อมูลเรียลทามจาก CSSE หรือ Center for Systems Science and Engineering ในขณะที่เขียนบทความอยู่นี้ ประเทศไทยตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าแล้ว 53 ราย โดยที่ 33 รายนั้นได้รับการรักษาและหายดีแล้ว แต่ยังมีผู้เคราะห์ร้ายเสียชีวิตจากไวรัสนี้จำนวน 1 ราย และอีก 19 รายยังอยู่ในการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

ติดตามยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าทั่วโลกปัจจุบัน

ยอดผู้ติดเชื้อที่ตรวจพบทั่วโลกคือ 116,335 ราย เสียชีวิตแล้ว 4,090 ราย และได้รับการรักษาจนหายดีแล้วจำนวน 64,391 ราย ส่วนตารางด้านล่างนี้จะเรียงลำดับจำนวนที่ตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า จำนวนผู้ที่ได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว จำนวนผู้เสียชีวิตในแต่ละประเทศโดยเรียงลำดับจากจำนวนมากไปหาน้อย 10 อันดับแรก  

ลำ ดับที่ จำนวนผู้ติดเชื้อ ในประเทศ จำนวนผู้ที่ได้รับการรักษา และหายดีแล้ว จำนวนผู้เสียชีวิต

1

(จีน) 80,757  (จีน) 60,097 (จีน) 3,136

2

(อิตาลี่) 9,172  (อิหร่าน) 2,731

(อิตาลี่) 463

3

(เกาหลีใต้) 7,513 (อิตาลี) 724

(อิหร่าน) 291

4

(สเปน) 1,646 (เกาหลีใต้) 247

(เกาหลีใต้) 54

5

(ฝรั่งเศส) 1,412 (ญี่ปุ่น) 101

(สเปน) 35

6

(เยอรมนี) 1,281   (สิงคโปร์) 78

(ฝรั่งเศส) 30

7

(สหรัฐอเมริกา) 761 (ฮ่องกง) 60

(สหรัฐอเมริกา) 27

8

(ญี่ปุ่น) 581 (ไทย) 33

(ญี่ปุ่น) 10

9

(เนเธอร์แลนด์) 382 (สเปน) 32

(อิรัก) 7

10 (สวิสเซอร์แลนด์) 374 (มาเลเซีย) 24

(อังกฤษ) 6

    *ซึ่งในจำนวนและการจัดอันดับตามตารางด้านบนยังไม่รวมข้อมูลการติดเชื้อจากบนเรือสำราญหรูหราล่องในทะเลเอเชียนามว่า Diamond Princess ซึ่งบรรจุผู้โดยสารได้ประมาณ 2600 คน มีการตรวจพบยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าถึง 696 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตไปแล้ว 6 ราย และมีผู้ได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว 50 ราย*  

ปัญหาขาดแคลนหน้ากากอนามัยในไทย

ตั้งแต่มีการระบาดของโรค COVID-19 หรือไวรัส Corona คนไทยมีการตื่นตัวมาก มีการกักตุนหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ รวมถึงการเกิดขึ้นของโรงงานใหม่ๆที่ผลิตหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล้างมือด้วย ในปัจจุบันมีโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยทั้งหมด 11 โรงงาน และมีกำลังการผลิตรวมกันแล้ว 1.2 ล้านชิ้นต่อวันหรือ 36 ล้านชิ้นต่อเดือนซึ่งยังไม่เพียงพอแต่ประชาการในประเทศไทย นอกจากนี้เมื่อความต้องการสูงขึ้น ราคาวัตถุดิบในการผลิตหน้ากากอนามัยก็สูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามรัฐได้กำหนดราคาขายหน้ากากอนามัยไม่เกิน 2.5 บาทต่อชิ้น หากขายเกินราคาที่กำหนดจะมีโทษตามกฎหมาย คือ จำคุก 5 ปี ปรับ 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   นอกจากนี้รัฐฯยังได้ประกาศให้หน้ากากอนามัยเป็นสินค้าควบคุม โดยหากใครกักตุนซึ่งมีลักษณะ คือ 1.เก็บสินค้าไว้ในสถานที่อื่นนอกเหนือจากสถานที่ที่ได้แจ้งไว้กับเจ้าหน้าที่ 2.ไม่ขายหน้ากากที่มีเพื่อขายตามปกติ 3.ปฏิเสธการจำหน่าย 4.ประวิงการจำหน่าย และ 5.มีการส่งมอบโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร จะถือว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการกักตุนสินค้า และมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุก 7 ปี ปรับ 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

วิธีทำหน้ากากอนามัยด้วยตัวเอง

สำหรับ “หน้ากากผ้า” จากกรมอนามัย โดยแพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ที่ได้เผยแพร่วิดีโอคลิปสาธิตการทำ “หน้ากากผ้า” แบบง่ายๆ ให้ทุกคนสามารถนำไปลองทำได้เองที่บ้านได้เอง โดยมีอุปกรณ์และขั้นตอนการทำ ดังนี้

อุปกรณ์

ผ้าฝ้ายกว้าง 6 นิ้วครึ่ง ยาว 7 นิ้ว จำนวน 2 ผืน กรรไกร  เข็ม ด้าย ยางยืดตัดมา 2 เส้นความยาวพอประมาณ เข็มหมุด 7-10 ชิ้น

ขั้นตอนการทำ

  1. นำผ้าทั้งสองชิ้นมาพับครึ่งตามแนวยาว
  2. จับจีบทวิซขนาด 1 นิ้ว ตามแนวยาวตรงกลางผ้า เอาเข็มหมุดกลัดไว้ให้อยู่ทรง ทำทั้งสองชิ้น
  3. จากนั้นนำผ้าที่ได้หันด้านนอกขึ้น
  4. นำผ้าชิ้นแรกมาวาง แล้วนำยางยืดมาเย็บติดขอบผ้าทั้งซ้ายขวา ทำเป็นห่วงคล้อง
  5. นำผ้าชิ้นที่สองมาวางทับบนชิ้นแรก โดยหันด้านนอกชนกัน
  6. เย็บรอบผ้าสี่เหลี่ยม กะระยะให้ห่างจากของประมาณ 0.5 ซม.
  7. ระหว่างเย็บให้รอบผืน อย่าลืมเว้นช่องว่างไว้ 1 นิ้วสำหรับกลับตะเข็บ
  8. เย็บเสร็จ ใช้กรรไกรตัดขอบผ้าที่รุ่ยๆ ออก แล้วกลับตะเข็บผ้า
  9. จากนั้นเย็บเก็บงานตรงช่องที่เว้นไว้ 1 นิ้ว แค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อย

ผลกระทบจากวิกฤติไวรัสโคโรน่าทำให้ผู้คนแตกตื่นและหวาดกลัว แต่จงอย่าลืมดูแลตัวเอง และถึงแม้สินค้าบางอย่างเช่นหน้ากากอนามัยจะหาซื้อได้ยากมากๆ ก็หวังว่าทุกคนจะสามารถประดิษฐ์หน้ากากอนามัยใช้เองได้ตามขั้นตอนด้านบนนี้

**การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดระมัดระวังในการลงทุน และลงทุนด้วยความไม่ประมาท**

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Olymp Trade ชุมชนออนไลน์ นักเทรด: