จริงหรือไม่ที่การเทรด Forex จะง่ายขึ้น หากไม่ใช้อินดิเคเตอร์ใดๆช่วยเลย เพียงแค่วิเคราะห์ รูป แบบ กราฟ Forex Olymp Trade ก็สามารถชนะการเทรดและทำกำไรได้แล้ว
แพล็ตฟอร์ม Olymp Trade ออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับนักเทรดทุกประเภท ทุกประเภทไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์สายอินดี้ หรือเป็นเทรดเดอร์สายกราฟสะอาดไม่ใช้อินดี้ โบรกเกอร์นี้ก็ยังถือว่าง่ายในการใช้งานสำหรับคุณ
การเทรด Forex คืออะไร
Forex คือ การซื้อขายสัญญาณราคาคู่สกุลเงิน ซึ่งการทำกำไรในตลาด Forex คุณจำเป็นจะต้องเปิดเทรดนานพอสมควร ดังนั้นการเทรดประเภทนี้ จึงไม่เหมาะกับคนที่ชอบเทรดสั้น 1 นาที 10 นาที นาที การเทรดประเภทนี้เหมาะ กับคนที่ถนัดเทรดยาวมากกว่า ก่อนที่คุณจะทราบว่าคุณถนัดเทรด Forex หรือไม่สามารถศึกษาเกี่ยวกับ Forex ได้ก่อนจะดีมาก
Forex บนแพล็ตฟอร์ม Olymp Trade
แพล็ตฟอร์ม Olymp Trade ให้บริการการเทรดออนไลน์ประเภท Forex และ FTT ซึ่ง 2 ตัวนี้มีความแตกต่างกัน คือ Forex เป็นประเภทเทรดยาว นักเทรดทำการปิดเทรดเองและ FTT เป็นประเภทเทรดสั้น นักเทรดตั้งค่าเวลาสิ้นสุดการเทรดตั้งแต่ก่อนเริ่มเทรด
รูป แบบ กราฟ Forex
การเทรดที่วิเคราะห์ทิศทางของราคาสินทรัพย์จากรูปแบบกราฟ สามารถใช้ได้กับการเทรด Forex และ FTT รูปแบบกราฟสามารถบอกพฤติกรรมการซื้อขายของนักลงทุน ที่มีต่อสินทรัพย์นั้นๆได้ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่นักเทรดหลายๆท่านจะวิเคราะห์การเทรด จากการพิจารณารูปแบบกราฟ โดยที่ไม่ใช้อินดิเคเตอร์ใดๆเลย
มีกี่ รูป แบบ กราฟ Forex ที่คุณต้องท่องจำ?
จะเรียกว่าการท่องจำก็ได้ แต่หากคุณมีประสบการณ์ในการเทรด โดยการพิจารณาจากรูปแบบกราฟเหล่านั้นบ่อยๆ คุณก็จะคุ้นชิน และสามารถวิเคราะห์กราฟเหล่านั้นได้โดยอัตโนมัติ รูปแบบกราฟ เป็นสัญลักษณ์ของพฤติกรรม การลงทุนของนักลงทุน ซึ่งสามารถบ่งบอกอนาคต และคาดการณ์ทิศทางราคาสินทรัพย์ได้ .
รูปแบบกราฟ มีมากมาย ให้คุณได้ท่องจำ แต่คุณสามารถเลือกที่จะท่องจำรูปแบบกราฟที่เกิดขึ้นบ่อยกว่ารูปแบบอื่นๆได้ จากการศึกษา Price Action ไฟล์ pdf ภาษา ไทย เพื่อเรียนรู้ลึกมากขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของกราฟ
รูป แบบ กราฟ Forex ที่เรียกว่า คลื่น
การศึกษาของ ดร.สุรชัย ไชยรังสินันท์ กล่าวว่า R.N. Elliott ได้ใช้ตัวเลข Fibonacci ในการสร้างรูปแบบของคลื่น ซึ่งในวัฏจักรหรือวงจรรอบหนึ่ง โดย ปกติจะประกอบด้วย 8 ลูกคลื่น แยกเป็นกลุ่มคลื่นในการกระตุ้น 5 ลูกคลื่น และ กลุ่มคลื่นในการปรับตัว 3 ลูกคลื่น จากลำดับตัวเลข Fibonacci จะเห็นได้ว่า ไม่จำเป็นที่ในหนึ่งวงจร จะประกอบด้วยลูกคลื่นแค่ 8 ลูกคลื่น เพราะสามารถที่จะขยายหรือแตกตัวออกไปได้อีกมาก โดยยึดหลักการของตัวเลขดังกล่าว
พฤติกรรมและความหมายของแต่ละคลื่น
เราต้องทำความเข้าใจถึงอารมณ์ หรือพฤติกรรมของผู้ลงทุนในตลาดให้ได้ก่อน ในขณะที่เกิดคลื่นลูกต่างๆ ทั้ง 8 ลูก (ได้แก่ 1, 2, 3, 4, 5, a, b, และ c) ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป การศึกษาอารมณ์หรือพฤติกรรมดังกล่าว ย่อมเป็นการช่วยในการคาดการณ์ถึงอารมณ์ หรือพฤติกรรมของนักลงทุนที่จะเกิดขึ้นในช่วงถัดไปได้ .
คลื่นลูกที่ 1 เป็นคลื่นปรับตัวขึ้น (rebound) จากที่ก่อนหน้านั้น เจอคลื่นปรับตัวลงถล่มมา จิตใจของนักลงทุนในช่วงเวลานี้ ยังคงกล้าๆกลัวๆอยู่ หรือยังไม่แน่ใจในทิศทางของตลาดมากนัก การขยับตัวขึ้นจึงเท่ากับเป็นการปูพื้นฐานทางจิตใจของนักลงทุนใหม่ หลังจากผ่านสถานการณ์ที่โหดร้ายมา .
คลื่นลูกที่ 2 เป็นคลื่นปรับตัวลงจากคลื่นลูกที่ 1 ตามหลักการของปฏิกิริยาที่ได้เคยกล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งบางครั้ง ก็เล่นงานจนนักลงทุนเกือบจะขาดความเชื่อมั่นเอาเลยทีเดียว เพราะความอ่อนไหวของจิตใจ ประกอบกับความรู้สึกที่ว่า ราคาหุ้นที่ได้ขึ้นขยับตัวขึ้นมานั้น (จากคลื่นลูกที่ 1) เป็นเพียงแค่การปรับตัวขึ้นชั่วคราว อย่างไรก็ดี ถ้าหากสังเกตปริมาณหุ้น จะ พบว่ามีปริมาณน้อยกว่าคลื่นลูกที่ 1 .
คลื่นลูกที่ 3 เป็นช่วงเวลาที่แนวโน้มสำคัญๆ เริ่มที่จะปรากฏ หรือได้ปัจจัยพื้นฐานเข้ามาช่วยกระตุ้น จึงเท่ากับเป็นการเติม หรือเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นโดยรวม จึงมีการปรับตัวขึ้น และเป็นไปอย่างมั่น คง ปริมาณหุ้น ตลอดจนการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และด้วยเหตุที่ความเชื่อมั่นในตลาดมีค่อนข้างสูง จึงอาจจะทำ ให้คลื่นลูกนี้ อาจมีการขยายตัวหรือต่อตัวซ้อนๆกันออกไปได้อีก การเข้าใจในรูปลักษณ์คลื่นที่ 3 นี้ จัดได้ว่ามีประโยชน์ เพราะจะทำให้นักลงทุนทราบว่า ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงใด และเป็นการตรวจสอบการนับคลื่นตั้งแต่ต้น ว่านับถูกหรือไม่? .
คลื่นลูกที่ 4 เป็นคลื่นปรับตัวลงจากลูกคลื่นที่ 3 อย่างไรก็ตาม ความสลับซับซ้อนดูจะมีมากกว่าคลื่นลูกที่ 2 และในแง่ ความลึกในการปรับตัวลง ขึ้นอยู่กับแรงผลักดันของคลื่นลูกที่ 3 ที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ลักษณะการปรับตัวลงของคลื่นลูกที่ 4 นี้ นับเป็นการชี้ทางอ้อมถึงระลอกคลื่นลูกที่ 5 ที่จะตามมา ว่าจะมั่นคงมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม หากสังเกตปริมาณ หุ้นจะพบว่า ปริมาณหุ้นในคลื่นลูกนี้ จะมีน้อยกว่าปริมาณหุ้นในคลื่นลูกที่ 3 แต่หากเปรียบเทียบกับลูกคลื่นที่ 2 แล้ว ปริมาณหุ้นในคลื่นลูกที่ 4 ยังคงมีมากกว่า .
คลื่นลูกที่ 5 ซึ่งเป็นคลื่นลูกสุดท้ายก่อนที่จะมีการปรับตัวลง สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในประการหนึ่งก็คือ ราคาหุ้นส่วนใหญ่ที่ เป็นอยู่ในช่วงนั้น เกินกว่าที่ปัจจัยพื้นฐานเข้ารองรับ การเก็งกำไรเป็นไปในสัดส่วนที่สูงกว่าที่จะยอมรับ ดังนั้น การชิงเท กำไรระยะสั้น จึงทำให้เกิดการปรับตัวลงของราคาลงได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ซึ่งก่อให้เกิดคลื่น 2 ในระยะเวลาต่อมา อย่าง ไรก็ตาม ถ้าหากปริมาณหุ้นในคลื่นลูกที่ 5 มีจำนวนเท่ากับ หรือมากกว่าปริมาณหุ้นในระลอกคลื่นที่ 3 อาจจะเป็น สัญญาณถึง ความเป็นไปได้ที่ลูกคลื่นที่ 5 นี้ อาจจะเกิดการต่อตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความยาวคลื่นลูกที่ 1 และลูกที่ 3 ก่อนหน้ามีความยาวเท่ากัน .
คลื่น a เป็นระลอกคลื่นที่มีการปรับตัวลง ซึ่งเป็นระลอกแรกใน bear market อย่างไรก็ตาม ด้วยความเชื่อมั่นและยังเมา มันอยู่ ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงมีความเชื่อว่า การปรับตัวลงนี้ เป็นเพียงแค่การปรับตัว เพื่อสร้างฐานสำหรับการ เคลื่อนตัวขึ้นครั้งใหม่ จึงยังคงทำให้มีแรงซื้อเข้ามาในตลาดอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่หารู้ไม่ว่าตลาดเริ่มอยู่ในอุ้งมือหมีเข้าแล้ว
คลื่น b ซึ่งเป็นคลื่นที่ดีดตัวขึ้นจากคลื่น 3 ซึ่งนักลงทุนบางคนที่เข้าใจถึงรูปแบบของคลื่นแล้วจะรู้ว่าเป็นคลื่นที่ขึ้นมาเพื่อให้ ล ขายของ และออกไปนั่งดูอยู่ข้างนอกตลาด นอกจากนี้ คลื่น 6 ยังเป็นหนทางที่ใช้แก้เกม สำหรับผู้ที่พลาดท่าโดนหลอกใน คลื่น 2 ให้ฉากตัวออกได้แล้ว อย่างไรก็ตาม รายการที่ตกลงซื้อขายกัน ในเมื่อข้างหนึ่งเป็นผู้ขาย อีกข้างหนึ่งย่อมจะมีผู้ซื้อ (ซึ่งหากว่าผู้เล่น เล่นไปด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล) ก็อาจจะเจอกับสภาพที่เรียกว่า ติดหุ้น อันเกิดจากการปรับตัวลงของ คลื่นถัดมา .
คลื่น c เป็นคลื่นที่ปรับตัวลงอย่างเห็นเด่นชัด เมื่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดหมดลง ย่อมเป็นการทำให้เกิดอุป ทานส่วนเกิน (excess supply) ขึ้นอย่างง่ายดาย ราคาหุ้นส่วนใหญ่จึงมีการปรับตัวลง ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปอย่างรวดเร็วถึง ขั้นตื่นตระหนก . เมื่อเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบคลื่นแล้วแนะนำให้คุณศึกษาเพิ่มเติมว่าควรเข้าออเดอร์และปิดการเทรดที่จุดไหนของคลื่นจากเนื้อหา Price Action ไฟล์ pdf ภาษา ไทย
**การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดระมัดระวังในการลงทุน และลงทุนด้วยความไม่ประมาท**
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ